พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระกริ่งคลองตะเ...
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ฯ จ.อยุธยา
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา เนื้อดินผสมผงใบลานเผา

ขนาดโดยประมาณ กว้าง 1.7 ซ.ม. สูง 3.5 ซ.ม.

วัดประดู่อยู่ติดกับวัดโรงธรรม โดยวัดประดู่อยู่ทางทิศเหนือ และวัดโรงธรรมอยู่ทางทิศใต้ ต่อมามีการรวมพระอารามทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน เป็นวัดประดู่โรงธรรม

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดประดู่ทรงธรรม เข้าใจว่าจะอาศัยเหตุที่พระสงฆ์ของพระอารามแห่งนี้ เคยได้รับอุปฐากจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

ด้วยเหตุการณ์ที่กล่าวข้างต้นชื่อนี้ได้ใช้สืบมาจนทุกวันนี้ และจากหลักฐานทางพระราชพงศาวดารดังกล่าวสามารถคำนวณอายุวัดได้ ไม่ต่ำกว่า 380 ปีแล้ว

ปัจจุบันวัดประดู่ทรงธรรม มีศาสนสถานเกิดขึ้นมากมาย หลักฐานเก่าแก่ทางโบราณคดี ดูเหมือนจะมีเพียงตัววิหารที่อยู่ทางทิศตะวันออกของโบสถ์เท่านั้น คือ มีจารึกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฝังไว้กับผนังด้านหน้า ภายในระบุปีที่มีการสร้าง (ในตัวจารึกใช้ว่า ” ทราง ” ) พ.ศ. 2405 และชื่อของผู้ร่วมสร้าง นอกจากนี้ที่ผนังภายในทั้ง 4 ด้านของวิหาร ยังมีภาพจิตรกรรมแสดงเรื่องราวทางทศชาติชาดกพุทธประวัติอีกด้วย ภาพเด่นคือขบวนเสด็จที่ผนังเหนือหน้าต่างทั้งซ้ายขวา

หลวงพ่อรอดเสือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าหลวงพ่อรอดเสือ ได้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะไม่ใช่ชื่อจริงของท่าน แต่คงนำเหตุการณ์ที่ท่านรอดมาจากเสือกินมาตั้งเป็นชื่อของท่าน

หลวงพ่อรอดเสือเป็นศิษย์เก่าของวัดประดู่ ท่านได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) กรุงเทพฯ แต่เป็นด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ท่านได้อพยพลงเรือบรรทุกหนังสือมาด้วยเต็มลำ พายขึ้นไปจนถึงบ้านกะมัง จ. พิจิตร

จนเพลาเย็นจวนค่ำท่านก็จอดเรือ เพื่อที่จะจำวัดตรงท่าที่เสือลงมากินน้ำ ชาวบ้านเห็นว่าจะไม่ปลอดภัย จึงได้อาราธนาให้ท่านมาจอดเสียที่ฝั่งบ้านคนอยู่ แต่ท่านไม่ยอม เพียงแต่บอกว่าเสือก็อยู่ตามเสือ คนก็อยู่ตามคน

พอรุ่งเช้าท่านไม่เป็นอันตรายใดๆ ชาวบ้านเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้เอากัปปิยะจังหันมาถวายเป็นจำนวนมาก จากนั้นท่านก็พายเรือล่องมาจอดที่วัดนางชี ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ริมแม่น้ำป่าสักหน้าวัดประดู่ เพื่อจะดูสถานที่สร้างวัดเป็นที่อยู่อาศัยต่อไป

เมื่อท่านได้พบสถานที่ที่เหมาะสมแล้วก็ได้สร้างกุฎิเพื่อเป็นที่พำนัก ต่อมาได้สร้างเสนาสนะอื่นๆ รวมทั้งพระอุโบสถ วัดประดู่จึงได้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าหลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ของวัดประดู่ในสมัยรัตนโกสินทร์

ได้มีการบอกเล่ากันว่าชาวบ้านกะมัง จ. พิจิตร ได้ติดตามมาคอยปรนนิบัติท่านที่อยุธยา จึงได้มีชื่อของบ้านกะมัง หรือตำบลกะมัง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันนี้ หลวงพ่อรอดเสือ ท่านเป็นพระเถระที่ยอดเยี่ยมในวิชาอาคมที่มีชื่อเสียงมาก และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีพระเจดีย์บรรจุอัฐิของท่าน ให้ประชาชนที่เคารพนับถือมากราบไหว้กันอยู่ไม่ขาด

ท่านปกครองวัดอยู่นานเท่าใด และมรณภาพเมื่อใด ไม่ปรากฎเป็นหลักฐาน

วัดประดู่ฯ คือ สถานที่ต้นกำเนิดพระกริ่งคลองตะเคียนนั่นเอง เพียงแต่ต่างสมัยกัน อยุธยา กับ รัตนโกสินทร์ สร้างจากตำราเดียวกันที่ตกทอดกันมา มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาด , คงกระพัน , กันเขี้ยวงา เป็นต้น เช่นเดียวกับพระพิมพ์ต่างๆของ จ.อยุธยา มาแต่โบราณกาล.
ผู้เข้าชม
34 ครั้ง
ราคา
2150
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
วาสนา พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0894611699
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 845-2-12340-2

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
โก้ สมุทรปราการjochoapirukภูมิ IRเจริญสุขErawan
Putanarintonกู่ทองชา พูนสินTotoTatosomphopstp253
ep8600hoppermankaew กจ.mon37kumphaพีพีพระเครื่อง
vanglannaLeksoi8somemanchaithawatเปียโนปลั๊ก ปทุมธานี
เทพจิระทิน ธรรมยุตโกหมูNiti3303มัญจาคีรี udBeerchang พระเครื่อง

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1075 คน

เพิ่มข้อมูล

พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ฯ จ.อยุธยา



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ฯ จ.อยุธยา
รายละเอียด
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา เนื้อดินผสมผงใบลานเผา

ขนาดโดยประมาณ กว้าง 1.7 ซ.ม. สูง 3.5 ซ.ม.

วัดประดู่อยู่ติดกับวัดโรงธรรม โดยวัดประดู่อยู่ทางทิศเหนือ และวัดโรงธรรมอยู่ทางทิศใต้ ต่อมามีการรวมพระอารามทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน เป็นวัดประดู่โรงธรรม

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดประดู่ทรงธรรม เข้าใจว่าจะอาศัยเหตุที่พระสงฆ์ของพระอารามแห่งนี้ เคยได้รับอุปฐากจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

ด้วยเหตุการณ์ที่กล่าวข้างต้นชื่อนี้ได้ใช้สืบมาจนทุกวันนี้ และจากหลักฐานทางพระราชพงศาวดารดังกล่าวสามารถคำนวณอายุวัดได้ ไม่ต่ำกว่า 380 ปีแล้ว

ปัจจุบันวัดประดู่ทรงธรรม มีศาสนสถานเกิดขึ้นมากมาย หลักฐานเก่าแก่ทางโบราณคดี ดูเหมือนจะมีเพียงตัววิหารที่อยู่ทางทิศตะวันออกของโบสถ์เท่านั้น คือ มีจารึกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฝังไว้กับผนังด้านหน้า ภายในระบุปีที่มีการสร้าง (ในตัวจารึกใช้ว่า ” ทราง ” ) พ.ศ. 2405 และชื่อของผู้ร่วมสร้าง นอกจากนี้ที่ผนังภายในทั้ง 4 ด้านของวิหาร ยังมีภาพจิตรกรรมแสดงเรื่องราวทางทศชาติชาดกพุทธประวัติอีกด้วย ภาพเด่นคือขบวนเสด็จที่ผนังเหนือหน้าต่างทั้งซ้ายขวา

หลวงพ่อรอดเสือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าหลวงพ่อรอดเสือ ได้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะไม่ใช่ชื่อจริงของท่าน แต่คงนำเหตุการณ์ที่ท่านรอดมาจากเสือกินมาตั้งเป็นชื่อของท่าน

หลวงพ่อรอดเสือเป็นศิษย์เก่าของวัดประดู่ ท่านได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) กรุงเทพฯ แต่เป็นด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ท่านได้อพยพลงเรือบรรทุกหนังสือมาด้วยเต็มลำ พายขึ้นไปจนถึงบ้านกะมัง จ. พิจิตร

จนเพลาเย็นจวนค่ำท่านก็จอดเรือ เพื่อที่จะจำวัดตรงท่าที่เสือลงมากินน้ำ ชาวบ้านเห็นว่าจะไม่ปลอดภัย จึงได้อาราธนาให้ท่านมาจอดเสียที่ฝั่งบ้านคนอยู่ แต่ท่านไม่ยอม เพียงแต่บอกว่าเสือก็อยู่ตามเสือ คนก็อยู่ตามคน

พอรุ่งเช้าท่านไม่เป็นอันตรายใดๆ ชาวบ้านเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้เอากัปปิยะจังหันมาถวายเป็นจำนวนมาก จากนั้นท่านก็พายเรือล่องมาจอดที่วัดนางชี ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ริมแม่น้ำป่าสักหน้าวัดประดู่ เพื่อจะดูสถานที่สร้างวัดเป็นที่อยู่อาศัยต่อไป

เมื่อท่านได้พบสถานที่ที่เหมาะสมแล้วก็ได้สร้างกุฎิเพื่อเป็นที่พำนัก ต่อมาได้สร้างเสนาสนะอื่นๆ รวมทั้งพระอุโบสถ วัดประดู่จึงได้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าหลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ของวัดประดู่ในสมัยรัตนโกสินทร์

ได้มีการบอกเล่ากันว่าชาวบ้านกะมัง จ. พิจิตร ได้ติดตามมาคอยปรนนิบัติท่านที่อยุธยา จึงได้มีชื่อของบ้านกะมัง หรือตำบลกะมัง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันนี้ หลวงพ่อรอดเสือ ท่านเป็นพระเถระที่ยอดเยี่ยมในวิชาอาคมที่มีชื่อเสียงมาก และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีพระเจดีย์บรรจุอัฐิของท่าน ให้ประชาชนที่เคารพนับถือมากราบไหว้กันอยู่ไม่ขาด

ท่านปกครองวัดอยู่นานเท่าใด และมรณภาพเมื่อใด ไม่ปรากฎเป็นหลักฐาน

วัดประดู่ฯ คือ สถานที่ต้นกำเนิดพระกริ่งคลองตะเคียนนั่นเอง เพียงแต่ต่างสมัยกัน อยุธยา กับ รัตนโกสินทร์ สร้างจากตำราเดียวกันที่ตกทอดกันมา มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาด , คงกระพัน , กันเขี้ยวงา เป็นต้น เช่นเดียวกับพระพิมพ์ต่างๆของ จ.อยุธยา มาแต่โบราณกาล.
ราคาปัจจุบัน
2150
จำนวนผู้เข้าชม
35 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
วาสนา พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0894611699
ID LINE
0894611699
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 845-2-12340-2




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี